ลงทุนยั่งยืน

พร้อมคืนภาษี

หรือ กองทุนรวมไทยเพื่อความยั่งยืน เป็นอีกทางเลือกของการลงทุนสำหรับผู้ที่ต้องการลงทุนระยะยาวในกิจการที่เน้นความยั่งยืนและได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษี

กองทุนรวมไทยเพื่อความยั่งยืน (Thailand ESG Fund)  มีนโยบายการลงทุนในทรัพย์สินอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่าง ที่ผู้ออกเป็นกิจการ หรือภาครัฐไทยที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย โดยเฉลี่ยในรอบปีบัญชีตั้งแต่ 80% ของ NAV ประกอบด้วย 5 กลุ่ม ดังนี้ 

1. หุ้นที่เป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนใน SET บนกระดานหลัก หรือกระดาน mai ที่ได้รับการคัดเลือกจาก SET หรือองค์กรหรือสถาบันอื่นที่สำนักงาน ก.ล.ต. ยอมรับว่ามีความโดดเด่นด้านสิ่งแวดล้อม (Environment) หรือด้านความยั่งยืน (Environmental, Social and Governance: ESG)

2. หุ้นที่เป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนใน SET บนกระดานหลัก หรือกระดาน mai ที่มีการเปิดเผย ข้อมูลเกี่ยวกับการปล่อยก๊าซเรือนกระจก แผนการจัดการ และการตั้งเป้าหมายเพื่อให้ บรรลุเป้าหมายในการลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของประเทศไทย รวมทั้งจัดให้ มีการทวนสอบการจัดทำคาร์บอนฟุตพริ้นท์โดยผู้ทวนสอบที่สำนักงาน ก.ล.ต. ยอมรับ*

3. ตราสารเพื่ออนุรักษ์สิ่งแวดล้อม (green bond) ตราสารเพื่อความยั่งยืน (sustainability bond) หรือตราสารส่งเสริมความยั่งยืน (sustainability – linked bond)

4. พันธบัตรรัฐบาล พันธบัตรที่กระทรวงการคลังค้ำประกันต้นเงินและดอกเบี้ย หรือหุ้นกู้ที่กระทรวงการคลังค้ำประกันต้นเงินและดอกเบี้ย แต่ไม่รวมถึงหุ้นกู้แปลงสภาพ ซึ่งเป็นพันธบัตรหรือหุ้นกู้เพื่ออนุรักษ์สิ่งแวดล้อม (green bond) พันธบัตรหรือหุ้นกู้เพื่อความยั่งยืน (sustainability bond) หรือพันธบัตรหรือหุ้นกู้ส่งเสริมความยั่งยืน (sustainability – linked bond)

5. โทเคนดิจิทัลเพื่อการลงทุน (investment token) ที่ออกตามพระราชกำหนดว่าด้วยการประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล ที่เป็นโทเคนดิจิทัลสำหรับโครงการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม (green-project token) หรือ โทเคนดิจิทัลสำหรับโครงการที่เกี่ยวข้องด้านความยั่งยืน (sustainability-project token) หรือ โทเคนดิจิทัลเพื่อส่งเสริมความยั่งยืน (sustainability-linked token) โดยหลักเกณฑ์เกี่ยวกับลักษณะของโทเคนดิจิทัล จะเป็นไปตามที่สำนักงาน ก.ล.ต. ประกาศกำหนด โดยความเห็นชอบของคณะกรรมการกำกับตลาดทุน

หมายเหตุ: * ผู้ทวนสอบอาจเป็นองค์กรที่ขึ้นทะเบียนกับองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (อบก.) หรือผู้ทวนสอบที่มีผลงานเป็นที่ยอมรับอย่างแพร่หลายในระดับสากล โดยผู้ทวนสอบจะทำหน้าที่ติดตามผลและการคำนวณปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่ลดลงได้ เพื่อให้การเปิดเผยข้อมูลการปล่อยก๊าซเรือนกระจกมีความน่าเชื่อถือ

  • ไม่กำหนดจำนวนขั้นต่ำในการซื้อหน่วยลงทุน และไม่กำหนดเงื่อนไขการซื้อต่อเนื่อง
  • ลงทุนในประเทศ เพื่อส่งเสริมสนับสนุนการลงทุนในกิจการหรือโครงการที่มีความโดดเด่นด้านสิ่งแวดล้อม (E) หรือด้านความยั่งยืน (ESG) 
  • เงื่อนไขการลดหย่อนภาษีของ ThaiESG บุคคลธรรมดา หักลดหย่อนภาษีเงินได้จ่ายเป็นค่าซื้อหน่วยลงทุน ThaiESG ไม่เกิน 30% ของเงินได้ แต่ไม่เกิน 100,000 บาท/คน/ปี (ไม่รวมวงเงินกลุ่มเกษียณที่รวมกันไม่เกิน 500,000 บาท)

โดยที่กองทุนและประกันรองรับการเกษียณ มีสิทธิประโยชน์ทางภาษีดังนี้

  • SSF ไม่เกิน 30% ของเงินได้พึงประเมิน สูงสุดไม่เกิน 200,000 บาท
  • RMF ไม่เกิน 30% ของเงินได้พึงประเมิน สูงสุดไม่เกิน 500,000 บาท
  • PVD/ กองทุนสงเคราะห์ครู/ กบข.
    • PVD/ กองทุนสงเคราะห์ครู ไม่เกิน 15% ของค่าจ้าง
    • กบข. ไม่เกิน 30% ของค่าจ้าง สูงสุดไม่เกิน 500,000 บาท
  • ประกันบำนาญ ไม่เกิน 15% ของเงินได้พึงประเมิน สูงสุดไม่เกิน 200,000 บาท
  • กอช. ไม่เกิน 30,000 บาท
  • Thailand ESG Fund ไม่เกิน 30% ของเงินได้พึงประเมิน สูงสุดไม่เกิน 100,000 บาท
  • ผู้ลงทุนสามารถขายคืนหน่วยลงทุนได้เมื่อถือมาแล้วไม่น้อยกว่าระยะเวลาตามที่กรมสรรพากรกำหนด (8 ปี นับวันชนวัน)
  • กำไรจากการขายคืนหน่วยลงทุน (Capital Gain) ThaiESG – เงินได้จากการขายคืนหน่วยลงทุนที่เป็นไปตามเงื่อนไข จะได้รับยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ตามที่กรมสรรพากรกำหนด
  • ระยะเวลาในการลดหย่อนภาษีของหน่วยลงทุน ThaiESG – ผู้ลงทุนสามารถหักลดหย่อนค่าซื้อหน่วยลงทุน ThaiESG ได้ตามจำนวนที่ซื้อทุกปีจนถึงพ.ศ. 2575
  • เมื่อซื้อกองทุน ThaiESG แล้วต้องถือครองลงทุนเป็นเวลา 8 ปีขึ้นไปนับจากวันที่ลงทุน หากถือครบกำหนดตามเกณฑ์กำไรที่ได้จากการขายหน่วยลงทุน (Capital Gain) จะไม่เสียภาษี แต่ถ้าขายก่อนเวลาที่กำหนด ต้องคืนภาษีที่ได้รับมาพร้อมเบี้ยปรับเงินเพิ่ม ตามเงื่อนไขของกรมสรรพากร
  • อย่าลืมแจ้งความประสงค์ที่จะใช้สิทธิหักลดหย่อน ต่อบริษัทจัดการลงทุน (บลจ.) ที่ผู้ลงทุนได้ซื้อหน่วยลงทุนด้วย 

สิ่งแวดล้อม

การใช้ทรัพยากรให้คุ้มค่าที่สุดและส่งผลเสียต่อสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุด

สังคม

ความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างองค์กร พนักงาน และผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย

ธรรมาภิบาล

ความโปร่งใสในการดำเนินกิจการ ยุติธรรมและตรวจสอบได้